ตะเข็บคือแนวของฝีเข็มซึ่งยึดผ้าสองชิ้นหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน ตะเข็บจะให้ความคงทนแก่รูปของเสื้อผ้าและบริเวณที่จะทำให้เสื้อผ้ามีเส้นตะเข็บเย็บต่อผ้ากันโดยความเรียบร้อยของตะเข็บจะขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญในการเย็บตะเข็บ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ตะเข็บเย็บด้วยมือ และตะเข็บเย็บด้วยจักร
ชนิดของตะเข็บที่เย็บด้วยมือ
1. ตะเข็บเนา คือ ตะเข็บที่เย็บหลวม ๆ มองเห็นเส้นด้ายของผ้าทั้งทางด้านถูก(ด้านถูกคือด้านนอก)และด้านผิด(ด้านผิดคือด้านใน)ชัดเจน การเย็บตะเข็บเนามีหลายวิธี เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของเนื้อผ้าและลักษณะของชิ้นงานที่จะเย็บจริง ตะเข็บเนามีหลายชนิด ได้แก่
1.1 ตะเข็บเนาเท่า คือ การเนาให้ฝีเข็มเสมอกันทั้งสองด้าน ทั้งด้านผิดและด้านถูก ในแต่ละฝีเข็มของการเนาจะใช้ความห่างประมาณ 0.7 เซนติเมตร หรือ 1.5 เซนติเมตร ถ้าฝีเข็มห่างกว่านี้เส้นด้ายจะบังคับผ้าไม่ได้ เริ่มการเนาทางขวามือ การเนาเข็มจะอยู่ด้านบนเสมอ
การเนาเท่าเริ่มเนาจากทางขวาไปทางซ้ายฝีเข็มด้านถูก(ด้านนอก)และด้านผิด(ด้านใน)จะเท่ากัน
ตะเข็บเนาเท่า
การนำไปใช้ สำหรับเนาตะเข็บก่อนเย็บ เนาชายเสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย
1.2 ตะเข็บเนาไม่เท่า คือ การเนาใช้ฝีเข็มถี่และฝีเข็มห่างสลับกัน โดยฝีเข็มห่างจะอยู่ด้านถูก (ด้านนอก)ส่วนฝีเข็มถี่จะอยู่ด้านผิด(ด้านใน) การที่ฝีเข็มถี่อยู่ด้านผิด(ด้านใน)นั้นจะช่วยทำให้เนื้อผ้าแน่น ส่วนฝีเข็มห่างซึ่งอยู่ด้านถูก(ด้านนอก)จะช่วยให้เห็นเส้นยาว ทำให้เป็นแนวที่จะ เย็บจักรตามได้ง่าย โดยทั่วไปฝีเข็มห่างจะมีความห่างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และฝีเข็มถี่จะมีความห่างประมาณ 0.7 เซนติเมตร
การเนาไม่เท่า เริ่มการเนาทางด้านขวา ให้ฝีเข็มถี่และห่างสลับกัน
ฝีเข็มห่างจะอยู่ด้านถูก(ด้านนอก) ฝีเข็มถี่จะอยู่ด้านผิด(ด้านใน)
ตะเข็บเนาไม่เท่า
การนำไปใช้ สำหรับเนาเป็นเส้นนำ เนาชายเสื้อ หรือใช้เนาเพื่อประกอบตัวเสื้อสำหรับการลองตัว
1.3 ตะเข็บเนาเฉียง คือ การเนาฝีเข็มทแยงไปตามเนื้อผ้า โดยใช้เนาผ้าสองชั้นให้อยู่ด้วยกัน เช่น ผ้าชั้นนอกกับผ้ารองปก สาบเสื้อ หรือใช้เนายึดส่วนที่กำลังเย็บ เช่น เนายึดรังดุมกุ๊นด้วยผ้าเพื่อไม่ให้แยกเสียรูป
การเนาเฉียง เริ่มทางด้านขวามือ ฝีเข็มทแยงไปตามเนื้อผ้า
ตะเข็บเนาเฉียง ใช้เนาผ้าสองชิ้นให้อยู่ด้วยกัน
ตะเข็บเนาเฉียง
การนำไปใช้ สำหรับเนาผ้ารองปกให้ติดกับชิ้นปกเสื้อ เนาปากกระเป๋าเจาะ ในขณะที่จะทำการเย็บซึ่งช่วยไม่ให้เสียรูป
1.4 ตะเข็บเนาแบบเทเลอร์ คือ การเนาที่ทิ้งด้ายให้หลวมเป็นห่วง 1 ฝีเข็มสลับกับฝีเข็มดึง ด้ายตึง 1 ฝีเข็มตามแนวที่ต้องการเย็บตะเข็บ เนาแล้วแยกผ้าสองชิ้นออกจากกัน พอด้ายตึงตัดด้ายเนากลางระหว่างผ้าสองชั้น แยกผ้าออกรอยด้ายเนาใช้แทนการกลิ้งรอยบนผ้า
การเนาแบบเทเลอร์ จะเริ่มเนาทางด้านขวา
การเนาจะต้องทิ้งด้ายให้หลวมเป็นห่วง 1 ฝีเข็มสลับกับฝีเข็มดึงด้ายตึง 1 ฝีเข็ม
ตะเข็บเนาแบบเทเลอร์
การนำไปใช้ สำหรับเนาผ้าสองชิ้นที่เป็นผ้าเนื้อหนา ผ้าที่กลิ้งกดรอยไม่ได้ รอยด้ายเนาใช้แทนการกลิ้งรอยบนผ้า
a
ขอขอบคุณ : http://writer.dek-d.com/