หยุดทำร้ายดวงตา ด้วยการใส่คอนแทคเลนส์ผิดๆ





ลองมารู้จักคอนแทคเลนส์กันก่อนว่ามีอยู่กี่ประเภทกันนะ ?
เดิมมีคอนแทคเลนส์แบบเลนส์แข็งอย่างเดียว แต่ปัจจุบันนี้มีแบบเลนส์นิ่ม ซึ่งเลนส์นิ่มก็อย่างที่สาวๆ ใส่กันอยู่นั่นล่ะค่ะ เลนส์นิ่มนี้จะยืดไปตามตา มันอาจจะใส่สบายในตอนต้น แต่มักจะตามมาด้วยปัญหาของการสะสมของคราบสิ่งสกปรก ซึ่งทำให้เกิดอาการอักเสบหรือแพ้ได้ง่ายขึ้น ส่วนเลนส์แข็งแม้จะไม่กักเก็บคราบสกปรกมากเท่าเลนส์นิ่มแต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อใส่ในระหว่างวัน เวลากะพริบตา หนังตาจะไปเลื่อนเลนส์ จะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

คิดให้ดีก่อนใส่คอนแทคเลนส์

ใครหลาย ๆ คนที่กำลังตัดสินใจเปลี่ยนจากการใช้แว่นสายตา หันมาใช้คอนแทคเลนส์ รวมทั้งผู้ใส่คอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำ อาจมีข้อสงสัยที่ยังรอคำตอบเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้ก่อนตัดสินใจใช้คอนแทคเลนส์ มาฝากค่ะ
คำถามที่ 1 คอนแทคเลนส์มีอันตรายต่อดวงตาของผู้ใช้ได้หรือไม่

ตอบ มีแน่นอนค่ะ เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อน ถ้าคิดที่จะใช้ ควรจะได้รับการตรวจดวงตาจากจักษุแพทย์ก่อน เพื่อดูว่ามีโรคตาที่เป็นข้อห้ามในการใช้คอนแทคเลนส์หรือไม่ เลนส์ที่ใช้อยู่เหมาะสมกับดวงตาหรือไม่ เช่น เลนส์นั้นมีความโค้งเข้ากับความโค้งของกระจกตาคุณหรือเปล่า ถ้าคับหรือหลวมไปอาจเป็นอันตรายได้ หรือน้ำตาของคุณมีเพียงพอสำหรับใช้เลนส์ชนิดใด เช่น ถ้าน้ำตาค่อนข้างน้อยควรใช้เลนส์ชนิดแข็ง เป็นต้น
คำถามที่ 2 คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ครั้งเดียวทิ้ง มีคุณสมบัติดีกว่าแบบใส่เป็นปีจริงหรือไม่
ตอบ ไม่เสมอไป การเปลี่ยนบ่อย ๆ ข้อดีคือได้เลนส์ที่สะอาด กำจัดปัญหาที่เกิดจากเลนส์สกปรก เช่น ระคายตา ตาอักเสบ หรือตามัว เลนส์ชนิดนี้เป็นเลนส์ที่ใส่นอนได้ เลยมักเป็นเลนส์ที่อมน้ำมาก หรือบางมาก เพื่อให้ออกซิเจนผ่านไปที่กระจกตาได้ดี ซึ่งจะแห้งเร็วและไม่ค่อยคงรูปในขณะใส่ ทำให้ความชัดของภาพที่เห็นเปลี่ยนแปลงขณะกะพริบตา โดยเฉพาะในรายที่มีสายตาเอียงมาก
คำถามที่ 3 การใช้คอนแทคเลนส์ จะป้องกันสายตาไม่ให้ผิดปกติเพิ่มขึ้นได้จริงหรือไม่
ตอบ ไม่จริง ยกเว้นบางรายที่ใช้เลนส์ชนิดแข็ง หรือครึ่งแข็งครึ่งนิ่ม (Gas Permeable Lens) สายตาอาจไม่เปลี่ยนแปลงหรือลดลงเล็กน้อยได้ เนื่องจากความโค้งของกระจกตาเปลี่ยนไป
คำถามที่ 4 คอนแทคเลนส์ทำให้ดวงตาติดเชื้อโรคได้หรือเปล่า
ตอบ คอนแทคเลนส์ที่สกปรก เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องสามารถทำให้ติดเชื้อได้ ดังนั้นก่อนนำไปใช้ทุกครั้งจะต้องแช่เลนส์ไว้ในน้ำยาอย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง หรือแช่ทิ้งไว้ตลอดคืนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ และห้ามนำเลนส์ไปแช่ในน้ำเกลือโดยเด็ดขาด
นอกจากนั้นผู้ใช้ควรปิดตลับ และขวดน้ำยาให้เรียบร้อยก่อนที่จะไปล้างมือด้วย สบู่ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ส่วนตลับใส่เลนส์ควรล้างด้วยสบู่และลวกน้ำร้อนทุกเดือน และควรเปลี่ยนตลับบ่อย ๆ หรือทุก 6 เดือน
คำถามที่ 5 ถ้าเข้าใกล้เตาไฟร้อน ๆ คอนแทคเลนส์จะละลายได้หรือไม่
ตอบ ไม่
คำถามที่ 6 จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วหลังจากใส่คอนแทคเลนส์
ตอบ ถ้าใส่เลนส์แล้วมีอาการระคายเคือง เจ็บ น้ำตาไหล ตามัว หรือตาแดง สิ่งเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้น ต้องหยุดใช้เลนส์ทันที และควรพบจักษุแพทย์โดยด่วน
คำถามที่ 7 ทำไมบางครั้งเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ไปนาน ๆ หรือใส่นอนข้ามคืน จึงเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ
ตอบ ที่เป็นเช่นนั้น เกิดจากการใช้เลนส์นานเกินไป ควรให้จักษุแพทย์ตรวจดูว่าเลนส์นั้นเหมาะกับตาของคุณหรือไม่ หรืออาจเกิดจากกระจกตาบวม เนื่องจากมีออกซิเจนไปถึงกระจกตาไม่เพียงพอ ทั้งนี้เป็นเพราะเลนส์ที่ใช้เป็นชนิดที่ใส่ตอนนอนหลับไม่ได้ แต่คุณยังทำ หรืออาจเกิดจากเลนส์สกปรก หรือเลนส์หมดอายุ
ข้อดี ของคอนแทคเลนส์ นอกจากจะเพิ่มความสะดวกสบายและเสริมบุคลิกที่ดีแล้ว อย่าลืมเติมความใส่ใจให้กับความสะอาดและการดูแลที่ดีอีกสักนิด เพื่อถนอมดวงตาคู่สวยให้อยู่กับคุณตลอดไป
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก ชีวจิต
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com



ตะเข็บ และการเย็บตะเข็บ

ตะเข็บคือแนวของฝีเข็มซึ่งยึดผ้าสองชิ้นหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน  ตะเข็บจะให้ความคงทนแก่รูปของเสื้อผ้าและบริเวณที่จะทำให้เสื้อผ้ามีเส้นตะเข็บเย็บต่อผ้ากันโดยความเรียบร้อยของตะเข็บจะขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญในการเย็บตะเข็บ  ซึ่งแบ่งเป็น  2  ชนิด  คือ  ตะเข็บเย็บด้วยมือ  และตะเข็บเย็บด้วยจักร

ชนิดของตะเข็บที่เย็บด้วยมือ

1.  ตะเข็บเนา  คือ  ตะเข็บที่เย็บหลวม ๆ มองเห็นเส้นด้ายของผ้าทั้งทางด้านถูก(ด้านถูกคือด้านนอก)และด้านผิด(ด้านผิดคือด้านใน)ชัดเจน  การเย็บตะเข็บเนามีหลายวิธี  เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของเนื้อผ้าและลักษณะของชิ้นงานที่จะเย็บจริง  ตะเข็บเนามีหลายชนิด  ได้แก่

         1.1 ตะเข็บเนาเท่า  คือ  การเนาให้ฝีเข็มเสมอกันทั้งสองด้าน  ทั้งด้านผิดและด้านถูก  ในแต่ละฝีเข็มของการเนาจะใช้ความห่างประมาณ  0.7  เซนติเมตร  หรือ  1.5  เซนติเมตร  ถ้าฝีเข็มห่างกว่านี้เส้นด้ายจะบังคับผ้าไม่ได้ เริ่มการเนาทางขวามือ  การเนาเข็มจะอยู่ด้านบนเสมอ



การเนาเท่าเริ่มเนาจากทางขวาไปทางซ้ายฝีเข็มด้านถูก(ด้านนอก)และด้านผิด(ด้านใน)จะเท่ากัน

                                                       ตะเข็บเนาเท่า 

การนำไปใช้  สำหรับเนาตะเข็บก่อนเย็บ  เนาชายเสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย

1.2 ตะเข็บเนาไม่เท่า  คือ  การเนาใช้ฝีเข็มถี่และฝีเข็มห่างสลับกัน  โดยฝีเข็มห่างจะอยู่ด้านถูก  (ด้านนอก)ส่วนฝีเข็มถี่จะอยู่ด้านผิด(ด้านใน)  การที่ฝีเข็มถี่อยู่ด้านผิด(ด้านใน)นั้นจะช่วยทำให้เนื้อผ้าแน่น ส่วนฝีเข็มห่างซึ่งอยู่ด้านถูก(ด้านนอก)จะช่วยให้เห็นเส้นยาว  ทำให้เป็นแนวที่จะ      เย็บจักรตามได้ง่าย โดยทั่วไปฝีเข็มห่างจะมีความห่างประมาณ  1.5  เซนติเมตร  และฝีเข็มถี่จะมีความห่างประมาณ  0.7  เซนติเมตร


การเนาไม่เท่า  เริ่มการเนาทางด้านขวา  ให้ฝีเข็มถี่และห่างสลับกัน


ฝีเข็มห่างจะอยู่ด้านถูก(ด้านนอก)  ฝีเข็มถี่จะอยู่ด้านผิด(ด้านใน)

                                                    ตะเข็บเนาไม่เท่า

การนำไปใช้  สำหรับเนาเป็นเส้นนำ  เนาชายเสื้อ  หรือใช้เนาเพื่อประกอบตัวเสื้อสำหรับการลองตัว

1.3  ตะเข็บเนาเฉียง  คือ  การเนาฝีเข็มทแยงไปตามเนื้อผ้า  โดยใช้เนาผ้าสองชั้นให้อยู่ด้วยกัน เช่น  ผ้าชั้นนอกกับผ้ารองปก  สาบเสื้อ  หรือใช้เนายึดส่วนที่กำลังเย็บ  เช่น  เนายึดรังดุมกุ๊นด้วยผ้าเพื่อไม่ให้แยกเสียรูป


       การเนาเฉียง  เริ่มทางด้านขวามือ  ฝีเข็มทแยงไปตามเนื้อผ้า


            ตะเข็บเนาเฉียง  ใช้เนาผ้าสองชิ้นให้อยู่ด้วยกัน

                                           ตะเข็บเนาเฉียง

การนำไปใช้  สำหรับเนาผ้ารองปกให้ติดกับชิ้นปกเสื้อ  เนาปากกระเป๋าเจาะ ในขณะที่จะทำการเย็บซึ่งช่วยไม่ให้เสียรูป

1.4  ตะเข็บเนาแบบเทเลอร์  คือ  การเนาที่ทิ้งด้ายให้หลวมเป็นห่วง  1  ฝีเข็มสลับกับฝีเข็มดึง  ด้ายตึง  1  ฝีเข็มตามแนวที่ต้องการเย็บตะเข็บ  เนาแล้วแยกผ้าสองชิ้นออกจากกัน  พอด้ายตึงตัดด้ายเนากลางระหว่างผ้าสองชั้น แยกผ้าออกรอยด้ายเนาใช้แทนการกลิ้งรอยบนผ้า


                การเนาแบบเทเลอร์  จะเริ่มเนาทางด้านขวา


การเนาจะต้องทิ้งด้ายให้หลวมเป็นห่วง 1  ฝีเข็มสลับกับฝีเข็มดึงด้ายตึง   ฝีเข็ม

                                   ตะเข็บเนาแบบเทเลอร์ 

การนำไปใช้  สำหรับเนาผ้าสองชิ้นที่เป็นผ้าเนื้อหนา  ผ้าที่กลิ้งกดรอยไม่ได้  รอยด้ายเนาใช้แทนการกลิ้งรอยบนผ้า
a
ขอขอบคุณ : http://writer.dek-d.com/

วุ้นน้ำข้าวกล้องงอกฟรุตสลัด


ทำน้ำข้าวกล้องงอกธัญพืชแล้ว เราก็แบ่งมาทำขนมให้เด็กทานได้ ผู้ใหญ่ทานดี วันนี้ก็ทำเป็นวุ้นทรงเครื่อง

เครื่องประกอบด้วย:-
น้ำข้าวกล้องงอก ๑ ๑/๒ ถ้วยตวง (เราทำเองแบบไม่ใส่น้ำตาล)
น้ำสะอาด ๑/๒ ถ้วยตวง
วุ้นผง ๒ ๑/๒ ช้อนชา (ชอบแข็งมาก ก็เพิ่มเป็น ๓ ช้อนชาหรือมากกว่านี้ได้)
น้ำตาลทราย ๖ ช้อนโต๊ะ (เพิ่มลดได้ตามชอบ ถ้าน้ำข้าวกล้องงอกของใครหวานอยู่แล้วอาจใช้น้ำตาลน้อยกว่านี้ก็ได้)
ฟรุตสลัด หรือผลไม้สดตามชอบ

วิธีทำ:-
1.ละลายผงวุ้นกับน้ำสะอาด
2.ยกตั้งไฟอ่อน คนให้วุ้นละลายดี เทน้ำตาลใส่ลงไปได้
3.เคี่ยวต่อจนน้ำตาลละลายดี เทน้ำข้าวกล้องงอกใส่ลงไป เคนเข้ากัน และปิดไฟได้

4.ตักส่วนผสมวุ้นใส่พิมพ์ตามชอบ
5.พักไว้สักครู่ให้วุ้นแข็งตัวดีก่อน
6.เตรียมฟรุตสลัด เอาไว้ หรือผลไม้สด ถ้าชิ้นใหญ่ก็หั่นเป็นชิ้นพอคำ


จะใช้น้ำตาลไอซิ่งด้วยก็ได้  โรยน้ำตาลไอซิ่งบนผลไม้สด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันทั่วๆ ทำไว้ล่วงหน้าก็ได้ คลุกเสร็จแล้วแช่เย็นไว้ ตอนทานก็ตักผลไม้สดใส่บนหน้าวุ้น


หรือตักฟรุตสลัดใส่ลงไป

ถ้าไม่รีบร้อนทาน ให้แช่เย็นไว้ก่อนจะอร่อยยิ่งขึ้น


ขอขอบคุณ : http://rueanthai2.lefora.com


น้ำใบเตยหอม

ประโยชน์
บำรุงหัวใจ  ช่วยให้ชุ่มคอ

เตรียม
ใบเตยสด 10 ใบ
น้ำตาล ½ ถ้วย
น้ำต้มสุก 2-4 แก้ว

วิธีทำ

1. เลือกใบเตยที่สดและอ่อน ล้างน้ำให้สะอาดปลายๆน้ำ

2. หั่นเป็นชิ้นเล็กๆประมาณ 2 ถ้วย

3. แบ่งใบเตยใส่เครื่องปั่นทีละถ้วย ปั่นกับน้ำต้มสุก (ใบเตย 1 ถ้วยกับน้ำ 1-2 แก้ว)

4. กรองเอาแต่น้ำใบเตย ผสมน้ำตาล นำไปต้มจนเดือดก็ยกลง เก็บใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้

ที่มา  :  http://www.bloggang.com